จากครั้งที่แล้ว เราได้รู้จักกับ GPIO กันไปแล้วคราวนี้เราจะพามาทำวงจร LED แบบง่ายๆเพื่อให้เข้าใจการใช้GPIOกันมากขึ้น
การต่อวงจร
- LED มีสองขา ขาสั้นและขายาว
- ขาสั้นให้ต่อเข้ากับตัวต้านานและนำไปต่อกับ GND ใน GPIO
- ขายาวต่อเข้ากับพินที่เป็น GPIO
เขียนโค้ดสั่งให้วงจรทำงานและคำอธิบาย
บรรทัดที่ 1 เป็นการนำ Library ของ Raspberry Pi มาใช้ โดยบรรทัดนี้เราเรียกใช้ GPIO
บรรทัดที่ 2 เป็นการนำ Library Time(เวลา) มาใช้ในโค้ดนี้
บรรทัดที่ 3 เป็นการเซ็ตการใช้ GPIO หมายเลขของพิน
บรรทัดที่ 4 และ 5 เป็นการบอก Raspberry Pi ว่าเราใช้พินไหนทำงานบ้าง(ในที่นี้เราใช้พินที่ 3 และ 5)
บรรทัดที่ 7 เป็นการสั่งให้การทำงานเป็นแบบลูป ซึ่งแปลว่าจะทำงานเรื่อยๆจนกว่าเราจะหยุด
บรรทัดที่ 8 และ 12 จะเป็นคำสั่งให้ GPIO เปิดและสั่งคำสั่ง ในที่นี้เป็นการบอกให้เปิด LED
บรรทัดที่ 10 และ 14 จะเป็นคำสั่งให้ GPIO ปิดและสั่งคำสั่ง ในที่นี้เป็นการบอกให้ปิด LED
บรรทัดที่ 9,11,13 และ 15 เป็นคำสั่งของเวลา sleep เป็นการเว้นเวลาก่อนที่จะไปทำคำสั่งต่อไปในด้านล่าง การวงเล็บเลขไว้ด้านหลังแปลว่าเว้นเวลาไว้กี่วินาที
จากบรรทัดที่ 3 การเซต GPIO มี 2 แบบคือแบบ Board และ BCM ความต่างของสองแบบนี้เป็นเรื่องของการเรียกใช้ของพิน แบบของ Board จะเรียกใช้ตามเลขของพิน และ แบบของ BCM จะเรียกใช้ตามชื่อของ GPIO
ยกตัวอย่างเช่นเราเชื่อมกับพินหมายเลข 11 ที่มีชื่อว่าGPIO17
- ถ้าเลือก BOARD เวลาใช้คำสั่งจะใช้เลข 11
- ถ้าเลือก BCM เวลาเราใช้คำสั่งจะใช้เลข 17
หมายเลขและชื่อของ GPIO มีอยู่ทั่วไปในอินเทอร์เน็ต รวมถึงมีอยู่ในบทความที่แล้วด้วยนะ อย่าลืมไปดูอ่านดูด้วยนะ!
Leave A Comment